ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน APSC

Asean Corner มุมความรู้สู่ประชาคมอาเซียน อาเซียน
Asean Corner มุมความรู้สู่ประชาคมอาเซียน อาเซียน

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political – Security Community: APSC)

     ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของ อาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือการเผชิญกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบใหม่ อาทิ การก่ออาชญากรรมและการก่อการร้ายข้ามชาติ

ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” ภายในปี 2558 เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน เป็นหนึ่งในสามเสาความร่วมมือสำคัญของประชาคมอาเซียน

การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอัน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้าน ต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งใน รูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค

กระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐานมาจากการนำความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความ มั่นคงที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ข้อบทต่างๆ ภายใต้สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาว่าด้วยการทำให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลางและสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมกว่า 25 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน และสหภาพยุโรปด้วย

นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมี ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วย กันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ อ. ชะอำ อ. หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรองพิมพ์เขียวหรือแผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ซึ่งกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมการ เมือง-ความมั่นคงที่เน้นความสำคัญของความปลอดภัยของประชาชนภายในปี 2558 โดยในปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติตามพิมพ์เขียวดังกล่าว

ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ จะมีการประกาศจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” อย่างเป็นทางการ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ที่จัดตั้งขึ้น จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนกับองค์การระหว่างประเทศและภาคประชาสังคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยและประชาชนอาเซียนโดยรวม นอกจากนี้ การมีกลไกทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรมจะทำให้อาเซียนเป็นที่ยอมรับ ของนานาประเทศมากขึ้น อันจะส่งผลทางอ้อมต่อความร่วมมือกับประเทศและองค์การระหว่างประเทศนอกอา เซียนในทุกๆ ด้าน

บทบาทของไทยในด้านการเมืองและความมั่นคง

1. เร่งให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน (ธันวาคม 2551)

2. จัดตั้งและผลักดันการดำเนินการของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย วิทธิมุนษยชน (ASEAN Intergovernmental Commision on Human Rights – AICHR)

3. รับรองและผลักดันการปฎิบัติตามแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

4. ส่งเสริมให้คณะมนตรีของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีผลงานเป็น รูปธรรม เช่น การส่งเสริมความร่มวมือด้านการรักษาสันติภาพในภูมิภาค

5. ยกระดับบทบาทของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ และความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการแก้ไข Non-Traditional Security Threats

6. ผลักดันให้สหรัฐฯ เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia – TAC)

7. ผลักดันให้เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone – SEANWFZ) มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ และสร้างเสถียรภาพในอาเซียน

8. ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง

9. ส่งเสริมให้มีความโปร่งใสด้านนโยบายและข้อมูลทางทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

10. ส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures -CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟก (ASEAN Regional Forum – ARF)

11. ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการอาเซียน

ที่มา : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.go.th/asean

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here