พาเที่ยวประเทศลาว ​EP.1 มาทำความรู้จักลาวกัน

สวัสดีครับ ขอเริ่มบทความแรกของคอมลัมน์ แอดมินพาเที่ยวอาเซียน ด้วยการพาไปเที่ยว นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เนื่องจากผมเพิ่งได้มีโอกาสไปเที่ยว นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อมานานมานี้เอง ส่วนประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่ผมเคยไป จะพยายามเขียนเป็นบทความต่อๆ ไปในเร็วๆ นี้ครับ ก่อนจะไปเที่ยวลาว เรามาทำความรู้จักประเทศลาวกันก่อนดีกว่า

ข้อมูลพื้นฐาน

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว (ລາວ: ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ.ລາວ) หรือภาษาอังกฤษชื่อ Lao People’s Democratic Republic เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติ ศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และ วัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบก และทาง น้ำเป็นแนวยาวถึง 1,810 กิโลเมตร สปป.ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land link) ด้านการคมนาคมขนส่งจากไทย ไปประเทศที่สามในอนุภูมิภาค ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวข้ามแม่น้ำโขงทั้ง 2 แห่ง ที่หนองคาย-เวียงจันทน์ และที่มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และในอนาคตอันใกล้จะมีสะพานแห่งที่ 3 ที่นครพนม-คำม่วน ซึ่งได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552

             สปป.ลาวมีรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะป่าไม้และแร่ธาตุ เช่น ทองคำ ทองแดง และบ็อกไซต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตอลูมิเนียม มีเขื่อนหลายแห่งที่ผลิตไฟฟ้า พลังน้ำส่งไปขายประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งไทย ภาคใต้ของสปป.ลาวเป็นที่ราบสูงที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟคุณภาพดี             นอกจากนี้ การท่องเที่ยวก็เป็นแหล่งรายได้ที่เพิ่มความสำคัญขึ้นมาก จุดเด่นของสปป.ลาว คือ ธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์และวัฒนธรรมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เมืองหลวงพระบาง (มรดกโลก) ทุ่งไหหิน น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี และปราสาทวัดพู (มรดกโลก)

พื้นที่236,800 ตารางกิโลเมตร
เขตการปกครอง16 แขวง ได้แก่ พงสาลี หลวงน้ำทา บ่อแก้ว หัวพัน หลวงพระบาง เชียงขวาง อุดมไซ ไซยะบุลี เวียงจัน บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน จำปาสัก เซกอง อัดตะปือ และ 1 นครหลวง (นครหลวงเวียงจันทน์)
แขวงที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด คือ แขวงสะหวันนะเขต (21,774 ตารางกิโลเมตร)
แขวงที่มีพื้นที่เล็กที่สุด คือ นครหลวงเวียงจันทน์ (3,960 ตารางกิโลเมตร)
เมืองหลวงนครหลวงเวียงจันทน์ (ວຽງຈັນ, Vientiane)
ประชากร5.8 ล้านคน (2550) แขวงที่มีประชากรมากที่สุดคือแขวงสะหวันนะเขต (ประมาณ 900,000 คน) แขวงที่มีประชากรน้อยที่สุดคือแขวงเซกอง (ประมาณ 90,000 คน) ส่วนนครหลวงเวียงจันทน์มีประชากรประมาณ 725,000 คน
ภาษาราชการภาษาลาว
วันชาติ2 ธันวาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย19 ธันวาคม 2493 (ค.ศ.1950)
ประธานประเทศนายจูมมาลี ไซยะสอน
รองประธานประเทศนายบุนยัง วอละจิด
ประธานสภาแห่งชาตินางปานี ยาท่อตู้
นายกรัฐมนตรีนายทองสิง ทำมะวง

             ประมุขของ สปป.ลาว คือประธานประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสภาแห่งชาติโดยได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสภาที่เข้าประชุม ประธานประเทศมีอำนาจลงนามประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาแห่งชาติ แต่งตั้งหรือย้ายเจ้าแขวงตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ และให้นิรโทษกรรม เป็นต้น

รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดูแลเรื่องการป้องกันประเทศ การทำความตกลงกับต่างประเทศ เสนองบประมาณให้สภาแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ (ปีงบประมาณของสปป.ลาวเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม-30 กันยายนของปีถัดไป) รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานให้สภาแห่งชาติและประธานประเทศทราบ หัวหน้าฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของประธานประเทศ โดยผ่านความเห็นชอบของสภาแห่งชาติ วาระของรัฐบาลเท่ากับวาระของสภาแห่งชาติ

             การบริหารท้องถิ่นของ สปป.ลาว มี 3 ระดับ คือ แขวง (เทียบเท่าจังหวัด) เมือง (เทียบเท่าอำเภอ) และบ้าน (เทียบเท่าหมู่บ้าน)

             ผู้บริหารสูงสุดในแต่ละระดับ ได้แก่ เจ้าแขวง เจ้าเมือง และ นายบ้านตามลำดับ

             องค์กรด้านนิติบัญญัติของ สปป.ลาว คือ สภาแห่งชาติ ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว (unicameral) สมาชิก สภาแห่งชาติมาจากการเลือกตั้งของประชาชน วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ชุดปัจจุบันเป็นชุดที่ 6 ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 (ค.ศ. 2006) มีสมาชิก 115 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 29 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และผู้มีสิทธิได้รับเลือกตั้งได้ต้องมีอายุ 21 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ สมาชิกสภาแห่งชาติชุดที่ 7 ซึ่งเลือกตั้งในปี 2554 มีสมาชิกเพิ่มเป็น 130 คน

สภาแห่งชาติ สปป.ลาว ประชุมสมัยสามัญ (ordinary session) ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นปี (หรือปลายปี) และกลางปี สภาแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ พิจารณาร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอ และอนุมัติโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 50,000 กิโลวัตต์

ในช่วงที่ปิดสมัยประชุม คณะกรรมการประจำสภาแห่งชาติ (Standing Committee)จะทำหน้าที่แทนสภาแห่งชาติ คณะกรรมการประจำสภาแห่งชาติชุดปัจจุบันมีนางปานี ยาท่อตู้ ประธานสภาแห่งชาติเป็นประธานโดยตำแหน่ง และนายไซสมพอน พมวิหาน รองประธานสภาแห่งชาติเป็นรองประธานโดยตำแหน่ง คณะกรรมการประจำสภาแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาและเปิดสมัยประชุมสภา

             ศาลของ สปป.ลาวประกอบด้วยศาลประชาชนสูงสุด ศาลอุทธรณ์ ศาลประชาชนแขวง ศาลประชาชนเมือง และศาลทหาร โดยศาลประชาชนสูงสุดเป็นองค์กรพิพากษาสูงสุด ทำหน้าที่ตรวจตราคำตัดสินของศาลประชาชนท้องถิ่นและศาลทหาร ก่อนปี 2523 รัฐธรรมนูญยังไม่มีมาตราเกี่ยวกับศาล ศาลเป็นเพียงกรมหนึ่งในกระทรวงยุติธรรม และเพิ่งแยกเป็นอิสระเมื่อปี 2546 การแต่งตั้งประธานศาลประชาชนสูงสุดต้องเสนอให้สภาแห่งชาติเห็นชอบ คนปัจจุบัน คือ นายคำมี ไซยะวง

สกุลเงินกีบ อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อกุมภาพันธ์ 2554
ประมาณ 260 กีบ : 1 บาท
GDP3.8 พันล้าน USD (ปี 2550)
GDP per capita665 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)
ทรัพยากรสำคัญไม้ ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่านหิน ทองคำ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
อุตสาหกรรมหลักโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้
สินค้าส่งออกที่สำคัญทองคำ ทองแดง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ตลาดส่งออกที่สำคัญไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
สินค้านำเข้าที่สำคัญรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
ตลาดนำเข้าที่สำคัญไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย
สินค้าสำคัญที่ไทย
ส่งออกไปลาว
น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผ้าผืน
สินค้าสำคัญที่ลาว
ส่งออกไปไทย
สินแร่โลหะและเศษโลหะ เชื้อเพลิง ไม้ซุง/ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ถ่านหิน ลวดและสายเคเบิล เครื่องจักรไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ
การลงทุนของไทยในลาวตั้งแต่กันยายน 2553 ไทยเป็นนักลงทุนต่างชาติที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมเป็นอันดับ 3 ในลาว ช่วงปี 2543-2551 มี 207 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1,581 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาขาการลงทุนสำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ขนส่ง โทรคมนาคม ธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ยว ธนาคาร นักลงทุนชาติอื่นที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย

สถิติเศรษฐกิจของ สปป.ลาว

อัตราขยายตัวของ GDP        7.8 % (ปี 2553)

รายรับของรัฐบาล                  ประมาณ 34,000 ล้านบาท

รายจ่ายของรัฐบาล                ประมาณ 42,000 ล้านบาท

การลงทุนจากต่างประเทศ (ปีงบประมาณ 2552 ตั้งแต่ตุลาคม 2551-กันยายน 2552) 208 โครงการ    มูลค่าประมาณ 4,313 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ เหมือนแร่ บริการ เกษตรกรรม และการผลิตไฟฟ้าตามลำดับ

ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ มูลค่ารวม 559.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 18,452 ล้านบาท) จำนวน 549 โครงการ แบ่งเป็นความช่วยเหลือให้เปล่า 382.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12,600 ล้านบาท) จำนวน 497 โครงการ และเงินกู้ 176.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,825 ล้านบาท) จำนวน 52 โครงการ

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ http://vientiane.thaiembassy.org

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here