หน้าแรก มุสลิม

มุสลิม

เกี่ยวกับมุสลิม เนื่องจากผมเป็นมุสลิม ที่จำเป็นจะต้องดำเนินชีวิตตามหลักการของศาสนาอิสลาม จึงจำเป็นจะต้องศึกษาเรียนรู้ไปตลอดชีวิตครับ

I'm Muslim

“ศรัทธา อุดมการณ์ ทำงานเพื่ออัลลอฮ์”

0
"ศรัทธา อุดมการณ์ ทำงานเพื่ออัลลอฮ์"
Hijrah

ต้อนรับฮิจเราะห์ศักราชใหม่ 1436

0
ต้อนรับฮิจเราะห์ศักราชใหม่ 1436 วันที่ 1 ของเดือนมูฮัรรอม ฮ.ศ. 1436 ตรงกับวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2557 ประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง กำหนดวันที่ 1 ของเดือนมูฮัรรอม ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1436 ตามที่ได้ประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 ของเดือนมูฮัรรอม ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1436 ในวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้านั้น ปรากฏว่า ในวันและเวลาดังกล่าว มีผู้เห็นดวงจันทร์              ...

Bangkok Halal 2016 : “โอกาสฮาลาลไทย สู่ตลาดโลก”

0
เมื่อกี้มีโอกาสได้นั่งฟังปาฐกถาพิเศษโดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน หัวข้อ “โอกาสฮาลาลไทย สู่ตลาดโลก” จากที่ได้นั่งฟัง ได้รับความรู้ที่หลากหลายจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลก พิมพ์สรุปได้ว่า ประชากรโลกปัจจุบันมีประมาณ 7.3 พันล้านคน ในจำนวนนี้เป็นประชากรมุสลิมประมาณ 1.6 พันล้านคน เม็ดเงินที่ใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารฮาลาลทั่วโลกมากกว่า 7 แสนล้านดอลลาร์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับฮาลาล อาหารฮาลาล เสื้อผ้า แฟชั่น ยารักษาโรค สุขภาพ เครื่องสำอาง เสริมความงาม การเดินทาง การท่องเที่ยว การขนส่ง โลจิสติกส์ อาหารฮาลาล เศรษฐกิจของประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับ 2...
ห้องละหมาด ศูนย์สิริกิติ์

ห้องละหมาด ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

4
สำหรับพี่น้องที่มางานหนังสือ, งาน Commart, งาน Mobile Expo หรืองานอื่นๆ ที่ศูนย์สิริกิติ์ฯสามารถเดินเที่ยวงานได้อย่างสบายใจ เพราะถึงเวลาก็สามารถแวะมาละหมาดได้ที่ห้องละหมาด ชั้นใต้ดิน (จะมีป้ายบอกทางอยู่ครับ หรือถามพนักงานดูครับ) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center)

สลามัตฮารีรายา อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ. 1444

0
Eid Al-Fitr Mubarak ‎تقبل الله منا ومنكم ตะก๊อบบะลัลลอฮุ มินนาวะมินกุม สลามัตฮารีรายา อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ. 1444 ผิดพลาดประการใด ขอมาอัฟ (ขออภัย) ครับ www.dulloh.com

องค์ประกอบของการแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม

0
องค์ประกอบของการแต่งงาน ชาย ว่าที่สามี หญิง ว่าที่ภรรยา วาลี (ผู้ปกครองของหญิง) คำกล่าว ทำสัญญา อิญาบ จากวาลีหรือผู้แทน คำกะบูล จากฝ่ายชาย หรือผู้แทน พยานที่เป็นเพศชาย 2 คน เงื่อนไขของชายว่าที่สามี ไม่เป็นมุฮ์เร็ม หรือญาติกับฝ่ายหญิง ต้องเป็นมุสลิม ต้องกำหนดบุคคล ไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรืออุมเราะฮ์ มีภรรยายังไม่ครบ 4 คน พิจารณาเลือกด้วยตนเอง ต้องเป็นชายแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ เงื่อนไขของหญิงว่าที่ภรรยา ต้องเป็นมุสลิม ต้องกำหนดบุคคล ต้องเป็นแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่เป็นมุฮ์เร็มหรือญาติของฝ่ายชาย ไม่เป็นภรรยาของผู้อื่น ไม่อยู่ในอิดดะห์ของชายอื่น ไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรืออุมเราะฮ์ เงื่อนไขวาลีของหญิง เป็นมุสลิม มีสติปัญญา ครบอายุ (15 ปีบริบูรณ์) ต้องเป็นชาย 100 เปอร์เซ็นต์ มีความเป็นธรรม (ไม่ทำอบายมุข) พิจารณาเลือกด้วยตนเอง ไม่เป็นคนโง่หรือเสียสติ เงื่อนไขของพยาน เป็นมุสลิม มีสติปัญญา ครบอายุ (15 ปีบริบูรณ์) ได้ยินเสียงและเข้าใจภาษาชัดเจน มองเห็น พูดได้ ไม่ทำความชั่ว ทั้งบาปใหญ่หรือบาปเล็ก ไม่เป็นวาลี (ผู้ปกครองของหญิง) เงื่อนไขของคำกล่าว (ทำสัญญา) ต้องเป็นคำพูด...

การเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม

0
การเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน บรรดาชายที่เข้าสู่ชีวิตครอบครัวนั้นจะต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้ ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึก สังคม จริยธรรม อายุ ควรมีทรัพย์สินหรือหน้าที่การงานที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ตามความเหมาะสม มีความรู้ด้านศาสนาและด้านการประกอบอาชีพตามสมควร มีสุขภาวะทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ที่มา : หนังสือคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน (นิกะห์) หน้า 20

สลามัตฮารีรายา อีดิ้ลอัดฮา ฮ.ศ. 1444

0
Eid Al-Adha Mubarak‎تقبل الله منا ومنكم ตะก๊อบบะลัลลอฮุ มินนาวะมินกุมสลามัตฮารีรายา อีดิ้ลอัดฮา ฮ.ศ. 1444ผิดพลาดประการใด ขอมาอัฟ (ขออภัย) ครับwww.dulloh.com

บทบัญญัติการแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม

2
บทบัญญัติการแต่งงาน การแต่งงาน (นิกะห์) หมายถึง การใช้ชีวิตคู่ระหว่างสองเพศ หรืออีกนิยามหนึ่งเรียกว่า การร่วมเพศ สำหรับในทางบทบัญญัตินั้นหมายถึง การทำสัญญาผูกมมัดระหว่างสองเพศเพื่ออนุญาตให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้ โดยมีคำสัญญาที่ถูกกำหนดหรือมีความหมายที่เข้าใจ อิสลามส่งเสริมให้แต่งงาน จากอัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนูร อายะฮ์ที่ 32 ความว่า "จงแต่งงานกับผู้ที่เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และกับคนดีจากปวงบ่าวผู้ชายและปวงบ่าวผู้หญิงของพวกเจ้า หากพวกเขายากจนอัลลอฮ์จะทรงทำให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นด้วยความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวางและรอบรู้" ดังนั้นนักวิชาการได้แบ่งข้อบัญญัติว่าด้วยการนิกะห์ ออกเป็น 5 ประเภท ส่งเสริม (สุนัต) สำหรับผู้ที่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดูและปฏิบัติภารกิจหน้าที่รับผิดชอบของสามี (ซอฮิร บาติน) มีความประสงค์เพื่อทำตามแบบอย่างของท่านศาสดา ฮะโรส (อนุญาต) หากบุคคลนั้นมีความพร้อมการสร้างครอบครัวและปรนเปรออารมณ์ตามที่ศาสนาอนุมัติ ทั้งนี้เขามีความสามารถยับยั้งการทำความชั่ว เช่น ละเมิดประเวณี เป็นต้น ไม่ควร (มักโรห์) สำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดู และไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของสามีหรือไม่สามารถจ่ายมะฮัรได้ จำเป็น...